วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

28 มกราคม 2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ
            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม
ความรู้เพิ่มเติม
            เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ???

                 คงไม่มีใครปฏิเสธว่า "ความรัก" ของผู้เป็นพ่อแม่นั้น เป็นความรักที่ไร้เงื่อนไข ไม่ว่าลูกของตนจะออกมารูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือแม้ว่าสายเลือดที่ถือกำเนิดมานั้น จะผิดปกติแตกต่างจากบุคคลทั่วไปก็ตามที ลำพังเพียงความห่วงใยที่พ่อแม่มีให้บุตรหลาน ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นไปในสังคมปัจจุบัน ซึ่งนับวันภัยในรูปแบบต่างๆ ยิ่งมีมากขึ้น ก็นับว่ามากมายแล้ว แต่สำหรับพ่อแม่ที่มีบุตรหลานบกพร่องทางสติปัญญานั้น ความห่วงใยที่พ่อแม่ของเด็กเหล่านี้มีให้กับลูกยิ่งทบเท่าทวีคูณ   หลายครอบครัวที่มีบุตรหลานบกพร่องทางสติปัญญา จึงมีความรู้สึกเหมือนต้องแบกโลกทั้งใบไว้บนบ่า กับหน้าที่ในการดูแลลูกที่ผิดปกติจากเด็กคนอื่นๆ เช่นเดียวกับ รองศาสตราจารย์ทิพวรรณ สีจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาเรื่อง "ครอบครัวที่มีบุคคลพิการทางสติปัญญา" จัดโดยเครือข่ายองค์กรทำงานและนักวิชาการด้านครอบครัว ภายใต้การสนับสนุน จากแผนงานสุขภาวะครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารภาพให้ผู้ร่วมเสวนาได้ทราบว่า เธอคิดจะฆ่าตัวตายมาแล้ว เนื่องจากเป็นทุกข์อย่างแสนสาหัสในการดูแลบุตรสาวซึ่งมีความพิการทางสติปัญญา และยังมีความพิการด้านอื่นๆ ประกอบด้วย
"เราเป็นห่วง เป็นกังวลกับลูกทุกอย่าง คิดว่าหากเราไม่มีชีวิตอยู่แล้วลูกจะอยู่อย่างไร ยิ่งห่วงเขาเราก็ยิ่งทุ่มเทให้เขามาก อยากเห็นเขาดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เมื่อสิ่งที่เราอยากเห็นมันไม่เป็นไปตามที่เราคาด เราก็ยิ่งเป็นทุกข์ รู้สึกว่าเราไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว"     
สิ่งที่อาจารย์ทิพวรรณ ทำคือการเปลี่ยนความคิด มองโลกในแง่บวก แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตามที แต่เพราะความรักที่เธอมีให้กับลูก ทุกอย่างจึงผ่านพ้นไปด้วยดี ปัจจุบันเธอพร้อมยิ้มรับปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำกับครอบครัวอื่นๆ ที่มีปัญหาบุตรหลานพิการทางสติปัญญาด้วย       
"บางคนมีความคิดว่า ตั้งแต่ลูกคนนี้เกิดมาชีวิตไม่เคยมีความสุขเลย เพราะมีลูกปัญญาอ่อน ทั้งๆ ที่เขารักลูกมาก ทำให้เขาทุ่มเททั้งชีวิตไปที่ลูก จนลืมดูแลตนเอง พ่อแม่เครียดโดยไม่รู้ตัวและมีปัญหาสุขภาพจิต เมื่อเด็กอยู่ในสภาวะเกรี้ยวกราด กรีดร้อง พ่อแม่ก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ ลงมือทุบตีลูก ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ดังนั้น การดูแลเด็กที่พิการทางสติปัญญาจึงต้องดูแลพ่อแม่ด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้ครอบครัวอยู่ในภาวะวิกฤติ"
     





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น