วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

31  ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ

                      ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันหยุดเทศกาลปีใหม่ และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม


       ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา

         วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495



วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

26 พฤศจิกายน 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.


6.แด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ Children With Behavioral and Emotional Disorders
·      ควบคุมตัวเองไม่ได้
·      ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
แบ่งได้ 2 ประเภท
·      เด็กที่ไดรับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (รุนแรง)
·      เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
·      วิตกกังวล
·      หนีสังคม
·      ก้าวร้าว
การจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
·      สภาพแวดล้อม
·      ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดต่อเด็ก
·      เรียนหนังสือไม่ได้
·      มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
·      มีความคับข้องใจและเกิดอารมณ์
·      มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมชัดว่ามีความรุนแรง
·      เด็กสมาธิสั้น
·      เด็กออทิสติก
เด็กสมาธิสั้น เรียกย่อๆว่า ADHD
·      อยู่ไม่นิ่ง
·      ปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่องทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)
ลักษณะของเด็กทีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
·      อุจาระ ปัสสาวะรดกางเกง
·      ติดขวดนม
·      ดูดนิ้ว กัดเล็บ
·      หงอยเหงาเศร้าซึม
·      เรียกร้องความสนใจ
·      อารมณ์หวั่นไหวง่าย
·      ขี้อิจฉาริษยา
·      ฝันกลาวงวัน
·      พูดเพ้อเจ้อ
7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ Children With Learning Disabilities (LD) Learning Disability
·      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
·      มีปัญหาทางการใช้ภาษา
·      ไม่รวมเด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญา มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะ
·      มีปัญหาทักษะคณิตศาสตร์
·      ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
·      เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
·      มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
·      ซุ่มซ่าม
·      รับลูกบอลไม่ได้
·      ติดกระดุมไม่ได้
·      เอาแต่ใจตนเอง
8.เด็กออทิสติก Autistic หรือ ออทิซึ่ม Autism
·      มีความบกพร่องในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และ ความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
·      เด็กออทิสติกมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
·      ติดตัวเล็กไปตลอดชีวิต
·      ทักษะภาษา
·      ทักษะทางสังคม
·      ทักษะการเคลื่อนไหว
·      ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาด
ลักษณะเด็กออทิสติก
·      อยู่ในโลกของตัวเอง
·      ไม่เข้าไปหาใคร
·      ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
·      ไม่ยอมพูด
·      เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
·      ติดวัตถุ
·      มีท่าเหมือนคนหูหนวก
9.เด็กพิการซ้อน Children With Multiple Tlandicaps
·      เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่ง
·      สูญเสียการได้ยิน
·      เด็กปัญญาอ่อน ตาบอด
·      หูหนวก


   อาจารย์ได้เปิดวีดีโอทีวีครูเกี่ยวกับเด็กพิเศษให้นักศึกษาดูแล้วก็สรุป


วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

24  ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ


                      ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี
       จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก
ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี
        จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง
ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
1.       พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กกลุ่มนี้มี
ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
2.       สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
แทบทั้งสิ้น สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected)หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน  {mospagebreak}
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน) จะพบว่าส่วนใหญ่เด็กวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการสำรวจตรวจค้นอยู่แล้ว ตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย แต่ลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้จะพบในเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน 
วิธีการแก้ไข
1.1    จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ โดยลดสิ่งเร้ารอบตัวเด็ก เช่น เก็บของเล่นของเด็กเข้าตู้
หรือลิ้นชักให้เรียบร้อย ลดภาพหรือเครื่องตกแต่งภายในห้องเด็กให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อจะไม่กระตุ้นความสนใจของเด็กมากนัก
1.2    สร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม โดยการสร้างเสริมความ
สนใจและคงสมาธิในขณะทำกิจกรรม เพื่อลดพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็ก โดยการใช้ของเล่นเพื่อกระตุ้นความสนใจและคงสมาธิให้เด็กมีมากขึ้น อาจให้เด็กเล่นของเล่นครั้งละ 1 ชิ้น เมื่อเล่นเสร็จ ให้สัญญาณเตือนเด็กกว่า “จบ” หรือเสร็จ” และบอกว่า “เก็บ” กระตุ้นให้เด็กนำของเล่นเก็บเข้าที่ และเลือกของเล่นชิ้นต่อไปนำมาเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาของการเล่นในระยะแรก อาจเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาที/ชิ้น และค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการเล่นกับเด็กต่อไป

ปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้ไม่ยากที่จะแก้ไข ถ้าเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กและเทคนิคการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ก็สามารถนำเด็กไปสู่พฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้
สรุป
     การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับและตระหนักถึงปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อน จากนั้นต้องพยายามหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันโดยทางพันธุกรรมและการอบรมเลี้ยงดู วิธีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมแบบหนึ่ง อาจเหมาะสมกับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กอีกคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กก็ควรทำเป็นรายบุคคล ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ และบำบัดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ทันท่วงที ก็จะสามารถขจัดปัญหาพฤติกรรมนั้นได้ 




วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

19 พฤศจิกายน 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

   เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ Childrem mith physical and Health Lmpairments
•      เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
•      อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
•      มีปัญหาทางระบบประสาท
•      มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท
1.           อาการบกพร่องทางร่างกาย
2.           ความบกพร่องทางสุขภาพ
3.           อาการบกพร่องทางร่างกาย
ซี.พี. Cerebral Palsy
•      การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผสมมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
•      การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน
อาการ
•      อัมพาตเกร็งแขนขา
•      อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
•      อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
กล้ามเนื้ออ่อนแรง  Muscular Distrophy
•      เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ
•      เกิดไม่ได้ นั่งไม่ได้
•      จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ Orthopedic
•      ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก Club Foot กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด Spina Bifida
•      ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยเชื้อโรค

โปลิโอ  Poliomyelitis
            มีอารการกล้ามเนื้อรีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
•      ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้เดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
                        แขนขาด้วนแต่กำเนิด Lime Deficiency
                        โรคกระดูกอ่อน  Osteogenesis Lmperfeta
ความบกพร่องทางสุขภาพ
            โรคลมชัก  Epitepsy
•      เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
1.ลมบ้าหนู Grand Mal
•      เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติและหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก
2.การชักในช่วงเวบาสั้นๆ Petit Mal
•      เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ
•      เมื่อเกิดอาการชักเด้กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
3.การชักแบบรุนแรง Grand Mal
•      เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะส่งเสียงดัง  หมดความรู้สึก หมดแรง
4.อาการชักแบบ Pratial Complex
•      เกิดอาการเป็นระยะๆ
•      กัดริมฝีปากไม่รู้สึกตัว
•      บางคนอาจเกิดจากความโกรธหรือโมโห
5.อาการไม่รู้สึกตัว Focal Partial
•      เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ ไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยไม่รู้สึกตัว
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน   Diabetes  mellitus
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์   Rheumatiod  arthritis
โรคสรีษะโต   Hydrocephalus
โรคหัวใจ   Cardiac  Conditions
โรคมะเร็ง  Cencer
เลือดไหลไม่หยุด  Hemophilia
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
•      มีปัญหาการทรงตัว
•      ท่าเดินคล้ายกรรไกร
•      เดินขากะเผลกหรืออึดอาดเชื่องช้า
•      ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา  Children with Speech and Language Disordrs
เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน  อวัยวะทางการพูดไม่เป็นไปตามลำดับขั้น
ความผิดปกติด้านการออกสียง
ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาการพูด
ความผิดปกติด้านเสียง
ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมทาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasis  หรือ  aphasia
Motor aphasia
•      เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือ คำสั่ง
•      พูดช้าๆพอพูดตามได้
•      ฑูดไม่ถูกไวยากรณ์
Wernicke’s aphasia
•      เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม
•      ออกเสียงไม่ชัด
Conduction  aphasia
•      เด็กที่ออกเสียงไม่ติดขัด
Nominal  aphasia
•      เด็กที่ออกเสียงได้  เข้ามใจคำถามดี
Global  aphasia
•      เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด
•      พูดไม่ชัดเลย
Sensory  agraphia
•      เด็กที่เขียนเองไม่ได้
Motor  agraphia
•      เด็กที่ลอกตัวเขียนและตัวพิมพ์ไม่ได้
•      เขียนตามคำบอกไม่ได้
Cortical  alexia
•      เด็กที่อ่านไม่ออก
Motor alexia
•      เด็กที่เห็นตัวเขียนและตัวพิมพ์ได้
Gerstmann’s  syndrome
•      ไม่รู้ชื่อนิ้ว
•      ไม่รู้ว้ายขวา
•      คำนวณไม่ได้
•      เขียนไม่ได้
•      อ่านไม่ออก
Visual  agnosia
•      เด็กที่มองเห็นวัตถุ
Auditory  agnosia
•      เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
•      ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ
•      ไม่อ้อแอ้ในอายุ 10 เดือน
•      ไม่พูดภายในอายุ  ขวบ
•      หลัง  ขวบ  ไปแล้วภาพุดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
•      ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
•      หลัง 5 ขวบ  เด้กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถม
•      มีปัญหาในการสื่อความหมาย


•      ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

17 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อน

   รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ

            มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท และบำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

          1. รูปแบบการเรียนในชั้นปกติตามเวลา เป็นรูปแบบการจัดการศึกษา

พิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติน้อยมากเด็กพิการสามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติเช่นเดียวกับเด็กปกติได้ตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด

          2. รูปแบบการเรียนร่วม เป็นรูปแบบการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง หรือผิดปกติ แต่อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ การจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบนี้ มุ่งให้เด็กพิการได้รับการศึกษา ในสภาวะที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะรับได้

          3. รูปแบบเฉพาะความพิการ เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก หรือพิการซ้ำซ้อนเป็นรูปแบบที่มีสภาพแวดล้อมจำกัดมากที่สุด แบ่งเป็น 4 ระดับได้แก่

                3.1 รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ

                3.2 รูปแบบการเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง

                3.3 รูปแบบการฟื้นฟูในสมรรถภาพในสถาบันเฉพาะทาง

                3.4 การบำบัดในโรงพยาบาลหรือบ้าน

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

         เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

         1.1 เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้

         1.2 เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ

การให้ความช่วยเหลือ

         เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นครูจึงควรปฏิบัติต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นตามโอกาสและสถานการณ์ดังนี้

         1.ไม่ควรพูดกับเด็กโดยคิดว่าเด็กหูหนวก การที่เด็กมีความบกพร่องทางการเห็นไม่ได้หมายความว่าหูตึงไปด้วย การใช้เสียงและน้ำเสียงที่มีความไพเราะอ่อนโยนจะสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเด็ก เด็กจะรับรู้ถึงน้ำเสียงของคนพูดได้มากและรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้พูดจากน้ำเสียงด้วย

         1.1 หากต้องการจะพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเด็กและเด็กที่อยู่ที่นั่นด้วย ต้องพูดกับเขาโดยตรง ไม่ควรพูดผ่านคนอื่นเพราะคิดว่าเด็กจะไม่เข้าใจหรือรู้ได้ไม่หมด

         1.2 ไม่ควรพูดแสดงความสงสารให้เด็กได้ยินหรือรู้สึก

         1.3 หากครูเข้าไปในห้องที่มีเด็กอยู่ควรพูดหรือทำให้รู้ว่าครูเข้ามาแล้ว

         1.4 การช่วยให้เด็กนั่งเก้าอี้ ให้จับมือวางที่พนักหรือที่เท้าแขนเด็กจะนั่งเองได้




วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

10 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

        วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

 ความหมายของรัฐธรรมนูญ
          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
 ประวัติความเป็นมา
          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ    อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
            พระมหากษัตริย์
            สภาผู้แทนราษฎร
            คณะกรรมการราษฎร 
            ศาล
          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
           1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
           2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
           3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
           4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
           5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
           6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
           7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)

           8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
           9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
           10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
           11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
           12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
           13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
           14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
           15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
           16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.

           17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
           18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - ปัจจุบัน)
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
           รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
           โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ

           อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
           ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
            คำปรารภ
            หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
            หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
            หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
            หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  
            หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
            หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
            หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
           หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
            หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
            หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
            หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
            หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
            หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
            หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
            บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
 วันรัฐธรรมนูญ
          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้
          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
 กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
           มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน
            มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ